สิ่งที่แอคชัวรีเรียนรู้จากไข้หวัดใหญ่ 2009 และไข้หวัดสเปน 1918
Tail risk คือความเสี่ยงที่นานๆครั้งจะเกิดขึ้น แต่พอเกิดแล้วสามารถสร้างความเสียหายอย่างมากมาย ในมุมมองของแอคชัวรีปกติแล้วหากพูดถึง Tail risk ก็จะนึกถึงความเสี่ยงที่มาจากการลงทุน เช่นตลาดหุ้นพัง (market crash) พันธบัตรของประเทศล่มสลาย (default risk) หรือ ภาวะการขาดเงินไหลเข้าระบบ (credit crunch) เป็นต้น อย่างไรก็ตามความเสี่ยงเหล่านี้มิได้เกิดขึ้นอย่างอิสระ ดังนั้นเมื่อคำนึงถึง Tail Risk จะต้องพิจารณาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ (correlation) ด้วย
อย่างไรก็ตาม Tail risk ที่อยากจะนำเสนอในคอลัมน์นี้ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่แอคชัวรีไม่ควรมองข้ามก็คือ ความเสี่ยงจากอัตรามรณะ (mortality risk) และอัตราการเจ็บป่วย (morbidity risk) ความเสี่ยงทั้งสองอย่างนี้ถือเป็นความเสี่ยงที่นานๆครั้งจะเกิดขึ้นแต่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อกับบริษัทประกันภัยหากที่ไม่มีการเตรียมการรับมือเอาไว้ล่วงหน้า ซึ่งการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 ถือเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่ส่งผลกระทบต่ออัตรามรณะและอัตราการเจ็บป่วยโดยตรง
ในฉบับนี้ผมขอเชื่อมโยงไข้หวัดใหญ่ 2009 กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว และนำเสนอมุมมองจากประสบการณ์ของผมว่าแอคชัวรีมีช่วยบริษัทประกันภัยในการบริหารอย่างไรบ้าง
สิ่งที่แอคชัวรีสนใจกับเหตุการณ์เหล่านี้ก็คือการสูงขึ้นของอัตรามรณะที่มากกว่าที่คาดคิดไว้ (excess mortality curve) ยิ่งบริษัทมีการขายแบบประกันที่เน้นความคุ้มครองโดยเฉพาะกับคนที่อายุไม่มากก็จะยิ่งได้รับผลกระทบมากกว่า เนื่องจากคนอายุน้อยจะมี Net Amount at risk ที่มากกว่าของคนสูงอายุ
คนทั่วไปแล้วอาจจะคิดว่าบริษัทที่คุ้มครองคนชรานั้นจะมีความเสี่ยงมากกว่าบริษัทที่คุ้มครองคนหนุ่มๆ ซึ่งสุขภาพดี แต่ความจริงแล้ว ถ้าลองคิดต่อไปว่า เมื่อเกิดโรคระบาดขึ้นมาโอกาสที่บริษัทประกันภัยจะขาดทุนนั้นจะมาจากการที่คุ้มครองคนหนุ่มๆ มากกว่า
โดยสรุปแล้วแบบประกันภัยที่ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อบริษัทประกันภัย ประกอบไปด้วยลักษณะดังต่อไปนี้:
- คุ้มครองแบบปีต่อปี
- คุ้มครองคนอายุน้อย
- คุ้มครองคนที่เพิ่งถือกรมธรรม์ได้ไม่นาน
ข้อมูลของการเกิดโรคระบาด
ตามสถิติแล้วการแพร่ระบาดของไวรัสจะเกิดขึ้นประมาณ 5 ครั้งในรอบ 100 ปี แล้วก็จะมีอยู่ 1 ครั้งที่จะเป็นเหตุการณ์ที่โลกจะต้องจดจำมันเอาไว้ในประวัติศาสตร์ อย่างเช่นในปี 1918 นั้นมีคนประมาณ 100 ล้านคนทั่วโลกที่ต้องตายด้วยไข้หวัดสเปน 1918 ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ แค่ระยะเวลาประมาณ 3 เดือนเท่านั้น และประวัติศาสตร์ก็มักจะซ้ำรอยเดิม จึงเป็นเรื่องที่น่ารู้ไม่น้อยที่ควรจะทำความรู้จักกับไข้หวัดสเปน 1918 กันบ้าง
ระลอกคลื่นของการระบาด
การระบาดชองไข้หวัดสเปน 1918 นั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วงระลอกคลื่น:
คลื่นลูกที่หนึ่ง: สามารถติดต่อกันง่ายดายโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนหนุ่มกับคนสุขภาพแข็งแรง แต่คนที่ติดหวัดในระลอกแรกนั้นจะไม่เป็นอันตรายถึงตาย
คลื่นลูกที่สอง: ความรุนแรงเพิ่มพูนขึ้นจนสามารถทำให้คนตายเป็นจำนวนมาก แต่คนที่มีภูมิคุ้มกันจากคลื่นลูกแรกนั้นกลับจะมีโอกาสติดเชื้อได้น้อยกว่า
คลื่นลูกที่สาม: สามารถกลายพันธุ์ไปติดเด็กได้ง่ายมากขึ้น
ทั้งนี้ โดยหน้าที่ความรับผิดชอบแล้วสิ่งที่แอคชัวรีกังวลมากที่สุดก็คือ... “ตัวเลข” ซึ่งตัวเลขในที่นี้หมาถึง อัตรามรณะ ในสภาวะการระบาดของไข้หวัดกราฟของอัตรามรณะ (Mortality curve) จะกลายเป็นรูป W ไป ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนที่อายุในวัยกลางคนจะมีอัตราการตายที่สูงเท่าๆกับคนวัยชราและเด็กเล็ก
ในแง่ของการคาดการณ์ความรุนแรงของไข้หวัดในครั้งต่อๆไปเมื่อเปรียบเทียบกับการระบาดของไข้หวัด 2009 ในครั้งนี้สามารถเป็นได้ทั้งสองทางคือ อาจะเบากว่าหรือรุนแรงกว่า:
เบากว่าเพราะ | แรงกว่าเพราะ |
- สมัยนี้มีห้อง ICU และการดูแลรักษาในโรงพยาบาลที่ดีกว่า ไว้ให้ผู้ป่วยที่ติดโรค - สมัยนั้นมีสงครามโลกเกิดขึ้นทำให้การระบาดเกิดได้เร็วกว่า - สมัยนี้สามารถวิเคราะห์ไวรัสได้ดีขึ้น รวมถึงแอนตี้ไวรัสด้วย | - การเดินทางสมัยโลกาภิวัฒน์นี้สะดวกขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางรถไฟ เรือ หรือเครื่องบิน - ห้อง ICU และเตียงอาจไม่เพียงพอเนื่องจากโรงพยาบาลสมัยนี้ได้ลดขนาดลงเมื่อทำ privatization มากขึ้น - คนมาอาศัยอยู่กันในเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมที่ผุดขึ้นกันมาเป็นดอกเห็ด - มีผลกระทบกับเศรษฐกิจเนื่องจากคนที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปีอาจมีโอกาสติดโรคได้สูงกว่า และคนเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจ |
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ประกาศว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่มีระดับ PANDEMIC ขั้นที่ 6
Pandemic Alert ของ WHO หมายถึง ความเสี่ยงในการแพร่กระจาย 6 ระดับ ซึ่งได้มีการกำหนดนิยามของการระบาดทั้ง 6 ระดับไว้ดังต่อไปนี้:
Phase 1 เจอไวรัสชนิใหม่ๆ แต่ไม่สามารถติดมาสู่คนได้
Phase 2 พบเชื้อที่เกิดในสัตว์ แล้วติดมาสู่คนได้ มีแนวโน้มจะแพร่จากคนสู่คน
Phase 3 เกิดการติดต่อในคนกลุ่มเล็กๆ สามารถจำกัดการแพร่ของเชื้อได้
Phase 4 เกิดการแพร่กระจายในระดับชุมชน เช่น เป็นกันทั้งเมือง ทั้งประเทศ
Phase 5 เกิดการระบาดข้ามประเทศ อย่างน้อย 2 ประเทศ
Phase 6 เกิดการระบาดข้ามทวีป ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่จะแพร่กระจายไปทั่วโลก
เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนผลจึงของย้ำว่าระดับเหล่านี้ มิใช่ความรุนแรงของโรคแต่เป็นเพียงการบอกระกับของการแพร่กระจายของโรคเท่านั้น
ส่งท้าย
สำหรับบทส่งท้ายของคอมลัมน์นี้ผมอยากจะขอย้ำว่า ไข้หวัดใหญ่สามารถติดต่อทางอากาศได้ และเมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อแล้วสองถึงสามวันจึงจะแสดงอาการ ดังนั้นหากทานยาแล้วรู้สึกอาการไม่ดีขึ้นในช่วงสองวันแรกควรจะรีบปรึกษาแพทย์ นอกจากนี้สิ่งที่ทำให้ไข้หวัดเป็นโรคที่น่ากลัวก็คือความสามารถของไวรัสไข้หวัดใหญ่ในการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมที่กลายเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่รุนแรงกว่าเดิม ยิ่งมีการแพร่การจายของเชื่อโรคมากก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้ไวรัสสามารถเปลี่ยนสายพันธุ์ได้เยอะขึ้น ดังนั้นทางที่ดีควรป้องกันโดยการสวมหน้ากากอานามัยและหมั่นล้างมือให้สะอาดและรักษาสุขภาพให้แข็งแรงกันดีกว่าครับ
โดย พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน (ทอมมี่) - นักคณิตศาสตร์ประกันภัย / แอคชัวรี
Certified by Society of Actuaries of USA, UK, and Thailand