วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

Swine flu (Are we ready for the next influenza pandemic?)

สิ่งที่แอคชัวรีเรียนรู้จากไข้หวัดใหญ่ 2009 และไข้หวัดสเปน 1918

Tail risk คือความเสี่ยงที่นานๆครั้งจะเกิดขึ้น แต่พอเกิดแล้วสามารถสร้างความเสียหายอย่างมากมาย ในมุมมองของแอคชัวรีปกติแล้วหากพูดถึง Tail risk ก็จะนึกถึงความเสี่ยงที่มาจากการลงทุน เช่นตลาดหุ้นพัง (market crash) พันธบัตรของประเทศล่มสลาย (default risk) หรือ ภาวะการขาดเงินไหลเข้าระบบ (credit crunch) เป็นต้น อย่างไรก็ตามความเสี่ยงเหล่านี้มิได้เกิดขึ้นอย่างอิสระ ดังนั้นเมื่อคำนึงถึง Tail Risk จะต้องพิจารณาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ (correlation) ด้วย

อย่างไรก็ตาม Tail risk ที่อยากจะนำเสนอในคอลัมน์นี้ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่แอคชัวรีไม่ควรมองข้ามก็คือ ความเสี่ยงจากอัตรามรณะ (mortality risk) และอัตราการเจ็บป่วย (morbidity risk) ความเสี่ยงทั้งสองอย่างนี้ถือเป็นความเสี่ยงที่นานๆครั้งจะเกิดขึ้นแต่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อกับบริษัทประกันภัยหากที่ไม่มีการเตรียมการรับมือเอาไว้ล่วงหน้า ซึ่งการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 ถือเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่ส่งผลกระทบต่ออัตรามรณะและอัตราการเจ็บป่วยโดยตรง

ในฉบับนี้ผมขอเชื่อมโยงไข้หวัดใหญ่ 2009 กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว และนำเสนอมุมมองจากประสบการณ์ของผมว่าแอคชัวรีมีช่วยบริษัทประกันภัยในการบริหารอย่างไรบ้าง

สิ่งที่แอคชัวรีสนใจกับเหตุการณ์เหล่านี้ก็คือการสูงขึ้นของอัตรามรณะที่มากกว่าที่คาดคิดไว้ (excess mortality curve) ยิ่งบริษัทมีการขายแบบประกันที่เน้นความคุ้มครองโดยเฉพาะกับคนที่อายุไม่มากก็จะยิ่งได้รับผลกระทบมากกว่า เนื่องจากคนอายุน้อยจะมี Net Amount at risk ที่มากกว่าของคนสูงอายุ

คนทั่วไปแล้วอาจจะคิดว่าบริษัทที่คุ้มครองคนชรานั้นจะมีความเสี่ยงมากกว่าบริษัทที่คุ้มครองคนหนุ่มๆ ซึ่งสุขภาพดี แต่ความจริงแล้ว ถ้าลองคิดต่อไปว่า เมื่อเกิดโรคระบาดขึ้นมาโอกาสที่บริษัทประกันภัยจะขาดทุนนั้นจะมาจากการที่คุ้มครองคนหนุ่มๆ มากกว่า
โดยสรุปแล้วแบบประกันภัยที่ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อบริษัทประกันภัย ประกอบไปด้วยลักษณะดังต่อไปนี้:
  1. คุ้มครองแบบปีต่อปี
  2. คุ้มครองคนอายุน้อย
  3. คุ้มครองคนที่เพิ่งถือกรมธรรม์ได้ไม่นาน


ข้อมูลของการเกิดโรคระบาด
ตามสถิติแล้วการแพร่ระบาดของไวรัสจะเกิดขึ้นประมาณ 5 ครั้งในรอบ 100 ปี แล้วก็จะมีอยู่ 1 ครั้งที่จะเป็นเหตุการณ์ที่โลกจะต้องจดจำมันเอาไว้ในประวัติศาสตร์ อย่างเช่นในปี 1918 นั้นมีคนประมาณ 100 ล้านคนทั่วโลกที่ต้องตายด้วยไข้หวัดสเปน 1918 ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ แค่ระยะเวลาประมาณ 3 เดือนเท่านั้น และประวัติศาสตร์ก็มักจะซ้ำรอยเดิม จึงเป็นเรื่องที่น่ารู้ไม่น้อยที่ควรจะทำความรู้จักกับไข้หวัดสเปน 1918 กันบ้าง

ระลอกคลื่นของการระบาด
การระบาดชองไข้หวัดสเปน 1918 นั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วงระลอกคลื่น:

คลื่นลูกที่หนึ่ง: สามารถติดต่อกันง่ายดายโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนหนุ่มกับคนสุขภาพแข็งแรง แต่คนที่ติดหวัดในระลอกแรกนั้นจะไม่เป็นอันตรายถึงตาย

คลื่นลูกที่สอง: ความรุนแรงเพิ่มพูนขึ้นจนสามารถทำให้คนตายเป็นจำนวนมาก แต่คนที่มีภูมิคุ้มกันจากคลื่นลูกแรกนั้นกลับจะมีโอกาสติดเชื้อได้น้อยกว่า

คลื่นลูกที่สาม: สามารถกลายพันธุ์ไปติดเด็กได้ง่ายมากขึ้น

ทั้งนี้ โดยหน้าที่ความรับผิดชอบแล้วสิ่งที่แอคชัวรีกังวลมากที่สุดก็คือ... “ตัวเลข” ซึ่งตัวเลขในที่นี้หมาถึง อัตรามรณะ ในสภาวะการระบาดของไข้หวัดกราฟของอัตรามรณะ (Mortality curve) จะกลายเป็นรูป W ไป ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนที่อายุในวัยกลางคนจะมีอัตราการตายที่สูงเท่าๆกับคนวัยชราและเด็กเล็ก

ในแง่ของการคาดการณ์ความรุนแรงของไข้หวัดในครั้งต่อๆไปเมื่อเปรียบเทียบกับการระบาดของไข้หวัด 2009 ในครั้งนี้สามารถเป็นได้ทั้งสองทางคือ อาจะเบากว่าหรือรุนแรงกว่า:

เบากว่าเพราะ
แรงกว่าเพราะ
-          สมัยนี้มีห้อง ICU และการดูแลรักษาในโรงพยาบาลที่ดีกว่า ไว้ให้ผู้ป่วยที่ติดโรค
-          สมัยนั้นมีสงครามโลกเกิดขึ้นทำให้การระบาดเกิดได้เร็วกว่า

-          สมัยนี้สามารถวิเคราะห์ไวรัสได้ดีขึ้น รวมถึงแอนตี้ไวรัสด้วย


-          การเดินทางสมัยโลกาภิวัฒน์นี้สะดวกขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางรถไฟ เรือ หรือเครื่องบิน
-          ห้อง ICU และเตียงอาจไม่เพียงพอเนื่องจากโรงพยาบาลสมัยนี้ได้ลดขนาดลงเมื่อทำ privatization มากขึ้น
-          คนมาอาศัยอยู่กันในเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมที่ผุดขึ้นกันมาเป็นดอกเห็ด
-          มีผลกระทบกับเศรษฐกิจเนื่องจากคนที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปีอาจมีโอกาสติดโรคได้สูงกว่า และคนเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจ



องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ประกาศว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่มีระดับ PANDEMIC ขั้นที่ 6
Pandemic Alert ของ WHO หมายถึง ความเสี่ยงในการแพร่กระจาย 6 ระดับ ซึ่งได้มีการกำหนดนิยามของการระบาดทั้ง 6 ระดับไว้ดังต่อไปนี้:
Phase 1 เจอไวรัสชนิใหม่ๆ แต่ไม่สามารถติดมาสู่คนได้
      Phase 2 พบเชื้อที่เกิดในสัตว์ แล้วติดมาสู่คนได้ มีแนวโน้มจะแพร่จากคนสู่คน
      Phase 3 เกิดการติดต่อในคนกลุ่มเล็กๆ สามารถจำกัดการแพร่ของเชื้อได้
        Phase 4 เกิดการแพร่กระจายในระดับชุมชน เช่น เป็นกันทั้งเมือง ทั้งประเทศ
      Phase 5 เกิดการระบาดข้ามประเทศ อย่างน้อย 2 ประเทศ
        Phase 6 เกิดการระบาดข้ามทวีป ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่จะแพร่กระจายไปทั่วโลก
เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนผลจึงของย้ำว่าระดับเหล่านี้ มิใช่ความรุนแรงของโรคแต่เป็นเพียงการบอกระกับของการแพร่กระจายของโรคเท่านั้น

ส่งท้าย
สำหรับบทส่งท้ายของคอมลัมน์นี้ผมอยากจะขอย้ำว่า ไข้หวัดใหญ่สามารถติดต่อทางอากาศได้ และเมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อแล้วสองถึงสามวันจึงจะแสดงอาการ ดังนั้นหากทานยาแล้วรู้สึกอาการไม่ดีขึ้นในช่วงสองวันแรกควรจะรีบปรึกษาแพทย์ นอกจากนี้สิ่งที่ทำให้ไข้หวัดเป็นโรคที่น่ากลัวก็คือความสามารถของไวรัสไข้หวัดใหญ่ในการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมที่กลายเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่รุนแรงกว่าเดิม ยิ่งมีการแพร่การจายของเชื่อโรคมากก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้ไวรัสสามารถเปลี่ยนสายพันธุ์ได้เยอะขึ้น ดังนั้นทางที่ดีควรป้องกันโดยการสวมหน้ากากอานามัยและหมั่นล้างมือให้สะอาดและรักษาสุขภาพให้แข็งแรงกันดีกว่าครับ

โดย พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน (ทอมมี่) - นักคณิตศาสตร์ประกันภัย / แอคชัวรี
Certified by Society of Actuaries of USA, UK, and Thailand